ปีนี้ วันมาฆบูชา ตรงกับวันที่ 22 ก.พ. 59
วันนี้วันที่ 19 ก.พ. 59 คนก็เยอะแล้วที่ พระมหาเจดีย์พุทธคยา
วันนี้วันที่ 19 ก.พ. 59 คนก็เยอะแล้วที่ พระมหาเจดีย์พุทธคยา
เข้ามาภายในบริเวณพระมหาเจดีย์พุทธคยา ทางด้านซ้ายมือจะเป็น อนิมิสเจดีย์
อนิมิสเจดีย์
เป็นสถานที่ วิมุตติสุข ในสัปดาห์ที่ ๒ หลังจากตรัสรู้ เสด็จไปประทับยืนด้านอีสาน ทรงจ้องดูต้นมหาโพธิ์ไม่กระพริบพระเนตร ที่นั้นเรียกว่า อนิมิสเจดีย์ (สัปดาห์ที่ ๑ ประทับภายใต้ร่มไม้ต้นพระศรีมหาโพธิ์)
เป็นสถานที่ วิมุตติสุข ในสัปดาห์ที่ ๒ หลังจากตรัสรู้ เสด็จไปประทับยืนด้านอีสาน ทรงจ้องดูต้นมหาโพธิ์ไม่กระพริบพระเนตร ที่นั้นเรียกว่า อนิมิสเจดีย์ (สัปดาห์ที่ ๑ ประทับภายใต้ร่มไม้ต้นพระศรีมหาโพธิ์)
วิมุตติสุข สุขเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะและปวงทุกข์;
พระพุทธเจ้าภายหลังตรัสรู้แล้วใหม่ ๆ ได้เสวยวิมุตติสุข ๗ สัปดาห์ตามลำดับคือ
สัปดาห์ที่ ๑ ประทับภายใต้ร่มไม้มหาโพธิ์ ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท สัปดาห์ที่ ๒ เสด็จไปประทับยืนด้านอีสาน ทรงจ้องดูต้นมหาโพธิ์ไม่กระพริบพระเนตร ที่นั้นเรียกว่า อนิมิสเจดีย์
สัปดาห์ที่ ๓ ทรงนิรมิตที่จงกรมขึ้นระหว่างกลางแห่งพระมหาโพธิ์และอนิมิสเจดีย์ เสด็จจงกรมตลอด ๗ วัน ที่นั้นเรียก รัตนจงกรมเจดีย์ สัปดาห์ที่ ๔ ประทับนั่งขัดบัลลังก์พิจารณาพระอภิธรรมปิฎก ณ เรือนแก้วที่เทวดานิรมิตในทิศพายัพแห่งต้นมหาโพธิ์ ที่นั้นเรียก รัตนฆรเจดีย์ สัปดาห์ที่ ๕ ประทับใต้ร่มไม้ไทร ชื่ออชปาลนิโครธ ทรงตอบปัญหาของพราหมณ์หุหุกชาติ แสดงสมณะและพราหมณ์ที่แท้ พร้อมทั้งธรรมที่ทำให้เป็นสมณะและเป็นพราหมณ์ พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่าธิดามาร ๓ คนได้มาประโลมพระองค์ ณ ที่นี้ สัปดาห์ที่ ๖ ประทับใต้ต้นไม้จิก ชื่อ มุจจลินท์ มีฝนตก มุจจลินทนาคราชมาวงขนดแผ่พังพานปกป้องพระองค์ ทรงเปล่งอุทานแสดงความสุขที่แท้ อันเกิดจากการไม่เบียดเบียนกัน เป็นต้น สัปดาห์ที่ ๗ ประทับใต้ต้นไม้เกต ชื่อราชาตนะ พาณิช ๒ คน คือ ตปุสสะและภัลลิกะ เข้ามาถวายสัตตุผงสัตตุก้อน และได้แสดงตนเป็นปฐมอุบาสกถึงสรณะ ๒
เมื่อสิ้นสัปดาห์ที่เจ็ด ณ ที่นี้แล้ว เสด็จกลับไปประทับใต้ต้นอชปาลนิโครธอีก ทรงดำริถึงความลึกซึ้งแห่งธรรมที่ตรัสรู้คือ ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน แล้วน้อมพระทัยที่จะไม่แสดงธรรม เป็นเหตุให้สหัมบดีพรหมมากราบทูลอาราธนา และ ณ ที่นี้เช่นกัน ได้ทรงพระดำริเกี่ยวกับสติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นเอกายนมรรคและอินทรีย์ ๕ อันมีอมตธรรมเป็นที่หมาย
พึงสังเกตว่า เรื่องในสัปดาห์ที่ ๒-๓-๔ นั้น เป็นส่วนที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวแทรกเข้ามา ความนอกนั้นมาในมหาวรรคแห่งพระวินัยปิฎก (เรื่องดำริถึงสติปัฏฐานและอินทรีย์ มาในสังยุตตนิกายมหาวารวรรค พระสุตตันตปิฎก)
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระธรรมปิฎก(ป.อ. ปยุตฺโต)
พระพุทธรูปภายในอนิมิสเจดีย์
รัตนฆรเจดีย์
สถานที่เสวยวิมุตติสุข สัปดาห์ที่ ๔ ประทับนั่งขัดบัลลังก์พิจารณาพระอภิธรรมปิฎก ณ เรือนแก้วที่เทวดานิรมิตในทิศพายัพแห่งต้นมหาโพธิ์ ที่นั้นเรียก รัตนฆรเจดีย์
สถานที่เสวยวิมุตติสุข สัปดาห์ที่ ๔ ประทับนั่งขัดบัลลังก์พิจารณาพระอภิธรรมปิฎก ณ เรือนแก้วที่เทวดานิรมิตในทิศพายัพแห่งต้นมหาโพธิ์ ที่นั้นเรียก รัตนฆรเจดีย์
สถานที่เสวยวิมุตติสุข จำลอง สัปดาห์ที่ ๗ ประทับใต้ต้นไม้เกต ชื่อราชาตนะ
สถานที่จริงไม่อยู่ในบริเวณนี้นะครับ (บริเวณนี้ เมื่อเช้า ทางคณะได้มาทำวัตร สวดมนต์ นั่งสมาธิ)
สถานที่จริงไม่อยู่ในบริเวณนี้นะครับ (บริเวณนี้ เมื่อเช้า ทางคณะได้มาทำวัตร สวดมนต์ นั่งสมาธิ)
ทางเข้าสระมุจจลินท์ สถานที่เสวยวิมุตติสุขจำลอง ในสัปดาห์ที่ ๖
สถานที่เสวยวิมุตติสุขจำลอง
สัปดาห์ที่ ๖ ประทับใต้ต้นไม้จิก ชื่อ มุจจลินท์ มีฝนตก มุจจลินทนาคราชมาวงขนดแผ่พังพานปกป้องพระองค์ ทรงเปล่งอุทานแสดงความสุขที่แท้ อันเกิดจากการไม่เบียดเบียนกัน เป็นต้น
สัปดาห์ที่ ๖ ประทับใต้ต้นไม้จิก ชื่อ มุจจลินท์ มีฝนตก มุจจลินทนาคราชมาวงขนดแผ่พังพานปกป้องพระองค์ ทรงเปล่งอุทานแสดงความสุขที่แท้ อันเกิดจากการไม่เบียดเบียนกัน เป็นต้น
สถานที่เสวยวิมุตติสุข
ใน สัปดาห์ที่ ๑ ประทับภายใต้ร่มไม้มหาโพธิ์ ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท
(ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้ เป็นต้นที่ ๔ ต้นจริงได้ตายไปแล้ว แต่สถานที่เสวยวิมุตติสุข ในสัปดาห์ที่ ๑ คือบริเวณนี้)
ใน สัปดาห์ที่ ๑ ประทับภายใต้ร่มไม้มหาโพธิ์ ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท
(ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้ เป็นต้นที่ ๔ ต้นจริงได้ตายไปแล้ว แต่สถานที่เสวยวิมุตติสุข ในสัปดาห์ที่ ๑ คือบริเวณนี้)
พระจันทร์ ก่อนวันมาฆบูชา
รัตนจงกรมเจดีย์
สถานที่เสวยวิมุตติสุข สัปดาห์ที่ ๓ ทรงนิรมิตที่จงกรมขึ้นระหว่างกลางแห่งพระมหาโพธิ์และอนิมิสเจดีย์ เสด็จจงกรมตลอด ๗ วัน ที่นั้นเรียก รัตนจงกรมเจดีย์
ป้ายทางการ ของวัดพระมหาเจดีย์พุทธคยา
WORLD HERITAGE MOMENT
MAHABODHI TEMPLE COMPLEX
ก่อนเข้าภายในบริเวณต้องถอดรองเท้านะครับ
WORLD HERITAGE MOMENT
MAHABODHI TEMPLE COMPLEX
ก่อนเข้าภายในบริเวณต้องถอดรองเท้านะครับ
ทางผู้จัดทัวร์ จะกลับที่พักแล้ว แต่ทางคณะเราจะอยู่ต่อ คณะเราบอกจะกลับที่พักเองครับ
(คณะเราพักที่วัดเนรัญชราวาส ห่างประมาณ 2 กม.)
(คณะเราพักที่วัดเนรัญชราวาส ห่างประมาณ 2 กม.)
ป้ายต้นไทร อชปาลนิโครธ ซึ่งเป็นสถานที่ เสวยวิมุตติสุข ใน สัปดาห์ที่ ๕
ซึ่งสถานที่จริง จะอยู่บริเวณที่นางสุชาดา ถวายข้าวมธุปายาสนะครับ ไม่ได้อยู่ในบริเวณพระมหาเจดีย์พุทธคยานี้ ในนี้จำลองขึ้นมาเพื่อให้ครบ ๗ สถานที่ครับ โดยสถานที่เสวยวิมุตติสุขที่ไม่ได้อยู่ในบริเวณพระมหาเจดีย์พุทธคยานี้ มี ๓ สถานที่ครับ คือ
สัปดาห์ที่ ๕ ประทับใต้ร่มไม้ไทร ชื่ออชปาลนิโครธ สัปดาห์ที่ ๖ ประทับใต้ต้นไม้จิก ชื่อ มุจจลินท์ สัปดาห์ที่ ๗ ประทับใต้ต้นไม้เกต ชื่อราชาตนะ
ซึ่งสถานที่จริง จะอยู่บริเวณที่นางสุชาดา ถวายข้าวมธุปายาสนะครับ ไม่ได้อยู่ในบริเวณพระมหาเจดีย์พุทธคยานี้ ในนี้จำลองขึ้นมาเพื่อให้ครบ ๗ สถานที่ครับ โดยสถานที่เสวยวิมุตติสุขที่ไม่ได้อยู่ในบริเวณพระมหาเจดีย์พุทธคยานี้ มี ๓ สถานที่ครับ คือ
สัปดาห์ที่ ๕ ประทับใต้ร่มไม้ไทร ชื่ออชปาลนิโครธ สัปดาห์ที่ ๖ ประทับใต้ต้นไม้จิก ชื่อ มุจจลินท์ สัปดาห์ที่ ๗ ประทับใต้ต้นไม้เกต ชื่อราชาตนะ
พระอาจารย์ ถ่ายรูป ให้ญาติโยมที่ฝากปัจจัยร่วมบุญมา ได้เห็นบรรยากาศ
รัตนจงกรมเจดีย์
เวลาประมาณ 1 ทุ่มเศษ คนเยอะมาก ทางเข้าแถวยาวมาก
พระจันทร์ทรงกลด ถ่ายที่วัดเนรัญชราวาส คืนวันที่ 19 ก.พ. 2559
0 comments:
Post a Comment